วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การเคลื่อนที่ในหนึ่งมิติ

การเคลื่อนที่แนวตรง
ระยะทาง คือ ระยะทางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง
ระยะกระจัด(S) คือ ระยะห่างจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง เช่น
การหาระยะกระจัด เราใช้เพียงจุด 2 จุดเท่านั้นคือ จุดเริ่มต้น กับจุดปลายแล้วเราก็ลากเส้นเชื่อมจุดไปเลยเส้นที่ได้นั้นคือระยะกระจัดนั่นเอง...เช่น นายสมชายอยู่บนตึกชั้น2 ต้องการออกไปหน้าบ้านระยะทางคือการเดินของนายสมชายทั้งหมดคือ จากชั้นสอง เดินลงบันได เดินออกจากบ้านแต่ระยะกระจัดคือระยะที่สั้นที่สุดคือ บินทะลุกำแพงไปเลย นายสมชายต้องการไปหานางสมถวิล สาวที่ตนรักแต่นายสมชายและนางสมถวิลอยู่คนละหมู่บ้านกันมีภูเขาลูกใหญ่เป็นอุปสรรคขวางกั้นระยะทางที่นายสมชายต้องเดินคือ เดินข้ามเขาไปยังอีกหมู่บ้านนั้นแต่ระยะกระจัดคือ เดินทะลุเขาไปเลย
ความเร่ง(a) คือ ความเร็วที่เปลี่ยนไปในหนึ่งหน่วยเวลา
ที่มาของสูตร
ความเร่งเฉลี่ย = (ความเร็วปลาย - ความเร็วต้น) / ช่วงเวลา
a = (v - u) / t - 0
a = (v - u) / t
v = u + at
เมื่อ s = vtหากมีความเร่ง ระยะกระจัดจะหาได้จาก
ระยะกระจัด = ความเร็วเฉลี่ย x เวลา
= (ความเร็วต้น+ความเร็วปลาย)/2 x t
s = ( u+v ) / 2 x t เอา v จาก 1 มาแทน
s = [ u+ ( u+at ) ] / 2 x t
s = ( 2u + at ) x t /2
s = ( 2ut / 2 ) + (at2 / 2)
s = ut + at2/2 จาก 1 จะได้ว่า t = (v - u) / a นำค่า t นี้ไปแทนใน 2
ได้ s = [ (u + v) / 2 ] [(v - u) / a]s
= (v2 - u2) / 2av2
= u2 + 2as

วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ทฤษฎสีัมพัทธภาพ


ใบไม้ผลิที่จะถึงนี้ องคก์ารบินและอวกาศแหง่ชาตขิองสหรัฐฯ (NASA) จะทาํการทดสอบ
ทฤษฎสีัมพัทธภาพทั่วไปของ Einstein ด้วยอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งที่มีชื่อเรียกว่า Gravity Probe B การทดลองนี้เป็นที่ยอมรับกันวา่เป็น การทดลองทางฟิสิกส์ที่สำคัญมากที่สุดการทดลองหนึ่ง ซึ่งจะมีผลกระทบกว้างไกลที่สุดเท่าที่NASA ได้เคยดำเนินการ
ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของ Einstein นั้นมีกำเนิดมาได้นาน 80 ปีแล้ว และตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาทุก คำ ทำ นายของทฤษฎี เช่น การเลี้ยวเบนของแสงขณะผ่านใกล้ดวงอาทิตย์ การเบี่ยงเบนน้อยๆ ของวงโคจรดาวพุธ และการเปลี่ยนความเร็วของคลื่นวิทยุ ขณะพุ่งผ่านดาวฤกษ์ขนาดใหญ่ได้รับการยืนยันว่าถูกต้องที่ระดับความเชื่อมั่น 99.9 เปอร์เซ็นต์ ทฤษฎีนี้จึงเป็นทฤษฎีหลักที่นักฟิสิกส์ใช้ในการศึกษาจักรวาลที่มีหลุมดำ (black hole) ดาวนิวตรอน (neutron star) คลื่นโน้มถ่วง (gravity wave) เชือกคอสมิก(cosmic string) inflationary unในฤดูiverse และ wormhole เป็นต้น และขณะนี้นักฟิสิกส์ทฤษฎีกำ ลังค้นหาวิธีจะรวมทฤษฎสีมพัทธภาพทั่วไปของ Einstein กับทฤษฎี quantum โดยหวังว่า่ทฤษฎีใีหม่ที่ เี่กิดขึ้นจะสามารถอธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติทุกรูปแบบได้หมด ส่วนนักฟิสิกส์ทดลองก็ได้อาศัยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ตรวจสอบจุดบกพร่อง และตรวจหาข้อจำกัดของทฤษฎี Einstein อย่างจริงจังตลอดมา

พันธุกรรม

การวัด
รากฐานของวิทยาศาสตร์
ในสมัยโบราณไม่มีใครทราบถึงความสำคัญ และคุณค่าของการวัด ไม่มีใครนึกเลยว่าถ้าไม่มีการวัดขนาด น้ำหนักระยะทาง ฯลฯ และนำมาเปรียบเทียบกันแล้ว เราจะไม่รู้สาเหตุของปรากฏการณ์ต่างๆ ได้เลย ในสมัยก่อนมนุษย์คิดว่าแผ่นดินไหว ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง เป็นการกระทำของพระเจ้าหรือเทพยดา ต่างคนต่างก็มีความสุข และมีความพอใจในการเคารพบูชายัญต่อเทพยดา ผู้ซึ่งทำให้เกิดแผนดินไหว แต่อย่างไรก็ตาม โดยความจำเป็นแท้ๆ ที่ทำให้มนุษย์สมัยโบราณต้องศึกษาเกี่ยวกับการวัด เมื่อเริ่มโดยวิธีนี้ การตั้งปัญหาถามตนเอง หาเหตุ หาผล จึงเกิดขึ้นตามมา
ในสมัยอียิปต์โบราณ การวัดพื้นที่ เป็นเรื่องทำให้เกิดปัญหาอย่างมากมาย สำหรับผู้ที่ทำมาหากินอาศัยที่ดินบนสองฝั่งแม่น้ำไนล์ เพราะทุกๆ ปีน้ำจะเอ่อจนล้นท่วมที่ดินทั้งสองฝั่งหมด ภายหลังน้ำลดชาวนาและเจ้าของที่ดินพากันกลับลงไปยังที่ดิน ซึ่งเข้าใจว่าเป็นของตน ทุกปีพระชาวอียิปต์จะต้องเป็นผู้ไปช่วยไกล่เกลี่ยในกรณีที่มีการถกเถียงกันในเรื่องที่ดิน ว่าของใครอยู่ตรงไหน ด้วยปัญหาเช่นนี้ การศึกษาและวิทยาการเกี่ยวกับการรังวัดแบ่งเขตที่ดิน และวิชาเรขาคณิตจึงได้เริ่มขึ้นที่ประเทศอียิปต์ และเริ่มขึ้นที่ริมฝั่งแม่น้ำไนล์ เนื่องจากความจำเป็นในการแบ่งที่ดินโดยแท้

การวัดเป็นรากฐานสำคัญยิ่งในวิชาฟิสิกส์ การวัดทำให้เราทราบสมบัติ และความสัมพันธ์ทางฟิสิกส์ เนื่องจากเหตุนี้จึงได้มีการคิดค้นเครื่องมือสำคัญหลายชนิดเพื่อช่วยในการวัด ทุกคนคงจะรู้จักไม้บรรทัด ไม้เมตรและแถบเมตรดี แต่หลายคนคงไม่เคยนึกเลยว่า ก่อนที่มีมนุษย์จะตกลงใช้มาตรฐานเกี่ยวกับการวัดเป็นอย่างเดียวกันนี้ ต้องเสียเวลาอยู่นานมาก ในคัมภีร์ไบเบิลมีจารึกไว้ว่าวัดความยาวของส่วนข้างของหน้าของโซโลมอนเป็น คิวบิต (cubit) 1 คิวบิต คือระยะทางจากปลายนิ้วกลางถึงข้อศอก สำหรับความยาวที่สั้นกว่านี้ ใช้ความกว้างของนิ้วมือ บางครั้งก็ใช้ความกว้างของผ่ามือ แต่อย่างไรก็ตาม หน่วยเหล่านี้ขึ้นอยู่กับคนร่างเล็ก ร่างใหญ่ จึงมิได้เป็นมาตรฐานที่เชื่อถือได้



ความยาว 1 ฟุต
จากสารานุกรมวิทยาศาสตร์ ของสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย
ที่มา http://www.rmutphysics.com/physics/oldfront/71/2/index.htm